โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย เป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่งที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมซึ่งถ่ายทอดโดยยีนด้อย ทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะผิดปกติ จึงส่งผลให้เกิดการแตกสลายเร็วกว่าที่ควร ซึ่งในประเทศไทย พบว่ามีประชากรมากถึง 40% มีพันธุกรรมของโรคนี้แฝงอยู่โดยไม่มีอาการ แต่จะเป็นพาหะถ่ายทอดทางพันธุกรรมของโรคธาลัสซีเมียต่อไปยังลูกหลาน
อาการของโรค
ซีดเรื้อรัง ตาเหลือง อ่อนเพลีย เจริญเติบโตไม่สมอายุ ม้าม และตับโต ต้องรับการให้เลือดเป็นประจำ ทำให้มีธาตุเหล็กสะสมในร่างกาย มีผลเสียต่ออวัยวะต่าง ๆ มักเจ็บป่วยไม่สบายบ่อย ๆ มีผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิตของตนเอง และครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง
วิธีการรักษา คือ การให้เลือด
- แบบที่ 1 เป็นการให้เลือดแบบประคับประคอง เพื่อเพิ่มระดับฮีโมโกลบินขึ้นให้สูงพอที่ผู้ป่วยจะหายจากอาการอ่อนเพลีย หรือเหนื่อยจากการขาดออกซิเจน ซึ่งควรให้ตามความจำเป็น
- แบบที่ 2 เป็นการให้เลือดจนผู้ป่วยหายซีด ซึ่งส่วนมากจะให้แก่ผู้ป่วยชนิดรุนแรงผู้เริ่มมีอาการตั้งแต่อายุน้อย ๆ
ตรวจวินิจฉัยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
- ตรวจวินิจฉัยโรคโลหิตจางทางพันธุกรรม (Hb Typing)
- ตรวจหาภาวะ Alpha Thalassemia (Alpha Thalassemia(Common Profile))
- ตรวจหาสารเหล็ก (Serum Iron , Total Iron Binding Capacity)
แหล่งที่มา
- ศูนย์การเรียนรู้สุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- บทความสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (http://med.mahidol.ac.th)